บทบาทและหน้าที่

โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน

สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน  สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร

เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๗ (๑)(๒) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และหน่วยงานของรัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลกอลำในฐานะของหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่น จึงออกประกาศโครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน  สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ตามความในมาตรา ๗ (๑)(๒) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ ดังต่อไปนี้

  • ๑. โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน อำนาจหน้าที่ที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ.๒๕๔๒ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ และกฎหมายที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ มีโครงสร้างและการจัดการองค์กรในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
    • ๒.๑ สภาองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำซึงมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน ๑๐ คน โดยมีประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ จำนวน ๑ คน และรองประธานสภา จำนวน ๑ คน ซึ่งนายอำเภอยะรังแต่งตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
      • ๑) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล
      • ๒)พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
      • ๓) ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
    • ๒.๒ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ จำนวน ๑ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
      • (๑) กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
      • (๒) สั่ง อนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล
      • (๓) อาจแต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
      • (๔) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
      • (๕) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
      • (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
      • (๗) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล
    • ๒.๓ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ จำนวน ๒ คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำซึ่งมิใช่สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
    • ๒.๔ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ จำนวน ๑ คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ และมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ มีหน้าที่ตามที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำมอบหมาย
    • ๒.๕ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ แบ่งส่วนราชการ ดังนี้
      • (๑) สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รับผิดชอบงานด้าน
        • – งานบริหารงานทั่วไป
        • – งานนโยบายและแผน
        • – งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
      • (๒) กองคลัง รับผิดชอบงานด้าน
        • – งานการเงินบัญชีและพัสดุ
        • – งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
        • – งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี
        • – งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
      • (๓) กองโยธา
        • – งานออกแบบงานก่อสร้างและควบคุม
        • – งานประสานด้านสาธารณูปโภค
        • – งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
      • (๔) กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รับผิดชอบด้าน
        • – งานบริหารการศึกษา
        • – งานศาสนาและวัฒนธรรม
        • – งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม
        • – งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข
        • – งานสวัสดิการสังคม
        • – งานสังคมสงเคราะห์
        • – งานส่งเสริมอาชีพและพัฒนาสตรี
        • – งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
  • ๓. สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย
    • ๓.๑ หน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๖ ดังต่อไปนี้
      • (๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
      • (๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
      • (๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
      • (๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
      • (๕) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนาธรรม
      • (๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
      • (๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      • (๘) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
      • (๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
    • ๓.๒ หน้าที่อาจจะทำกิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๔๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๖ ดังต่อไปนี้
      • (๑) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
      • (๒) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
      • (๓) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
      • (๔) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
      • (๕) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
      • (๖) ส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัว
      • (๗) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
      • (๘) การคุ้มครองดูแลรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
      • (๙) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
      • (๑๐) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
      • (๑๑) กิจการเกี่ยวการพาณิชย์
      • (๑๒) การท่องเที่ยว
      • (๑๓) การผังเมือง
    • ๓.๓ อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจ่ายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังต่อไปนี้
      • (๑) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
      • (๒) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
      • (๓) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
      • (๔) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
      • (๕) การสาธารณูปการ
      • (๖) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
      • (๗) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
      • (๘) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
      • (๙) การจัดการศึกษา
      • (๑๐) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และด้อยโอกาส
      • (๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของถิ่น
      • (๑๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
      • (๑๓) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
      • (๑๔) การส่งเสริมกีฬา
      • (๑๕) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
      • (๑๖) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฏรในการพัฒนาท้องถิ่น
      • (๑๗) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
      • (๑๘) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
      • (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
      • (๒๐) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
      • (๒๑) การควบคุมสัตว์เลี้ยง
      • (๒๒) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
      • (๒๓) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณสถานอื่นๆ
      • (๒๔) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      • (๒๕) การผังเมือง
      • (๒๖) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
      • (๒๗) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
      • (๒๘) การควบคุมอาคาร
      • (๒๘) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
      • (๓๐) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      • (๓๑) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
  • ๔. วิธีดำเนินงานองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ
    • การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลกอลำจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนในท้องถิ่นเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  การลดขั้นตอบการปฏิบัติงาน การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบผลของงานในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูลการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ
    • กรณีเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่อาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
  • ๕. สถานที่และช่องทางติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับส่วนราชการภายในองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ
    • (๕.๑) ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์ ๙๔๑๖๐
      • ติดต่อด้วยตนเอง ได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง    จังหวัดปัตตานี ในวันและเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ นาฬิกา
      • ติดต่อทางไปรษณีย์ ได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของทางราชการองค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี รหัสไปรษณีย์ ๙๔๑๖๐
      • ติดต่อทางโทรศัพท์ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๗๓-๗๑๙๗๗๓ และโทรสาร ๐๗๓-๗๑๙๗๗๓
      • ในวันและเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ นาฬิกา
      • ติดต่อเว็บไซต์ kolum.go.th